ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจโรคBaker's cyst  (อ่าน 127 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 196
  • ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แลก แจก แถม แห่งใหม่ ลงประกาศได้ไม่จำกัด เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าใหม่หรือมือสอง ประกาศขายบ้าน ขายรถ.ลงประกาศฟรีออนไลน์ โพสฟรี โพสต์ขายของฟรี ลงโฆษณาสินค้าฟรี โฆษณาสิน
    • ดูรายละเอียด
ตรวจโรคBaker's cyst
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 14:42:31 น. »
ตรวจโรคBaker's cyst

Baker's Cyst หรือภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่า คือความผิดปกติบริเวณข้อเข่าด้านหลัง โดยจะพบถุงน้ำหรือก้อนนิ่มที่มีน้ำอยู่ภายในบริเวณข้อเข่าด้านหลัง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บและข้อเข่าบวม หรือมีอาการข้อติดขัดร่วมด้วย สาเหตุของ Baker's Cyst มักเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำไขข้อและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อเข่า เช่น ภาวะข้ออักเสบหรือการบาดเจ็บบริเวณกระดูกอ่อน เป็นต้น

Baker's Cyst ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเป็นเพศที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ และโรคข้อเสื่อม โดยทั่วไป ภาวะถุงน้ำหลังหัวเข่าอาจหายไปได้เอง แต่หากมีอาการบวมมากหรืออาการรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องรับประทานยาหรือเข้ารับการรักษาจากแพทย์

อาการของ Baker's Cyst

ภาวะ Baker's Cyst อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติ จึงทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ โดยอาการที่อาจพบได้ทั่วไป เช่น

    มีก้อนนิ่มหรือถุงน้ำบริเวณข้อเข่า
    ถุงน้ำอาจแตกหรือฉีกขาดอยู่ภายใน จึงทำให้ของเหลวภายในถุงซึมออกมาและไหลลงไปยังน่อง ส่งผลให้เกิดรอยช้ำหรืออาจเกิดอาการเจ็บแปลบ บวมและแดงบริเวณน่อง
    รู้สึกเจ็บบริเวณเข่าตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง
    มีอาการข้อติดขัด ไม่สามารถขยับขาได้ตามปกติ โดยเฉพาะเมื่อเหยียดหรืองอเข่าอย่างเต็มที่
    เกิดรอยช้ำบริเวณหลังข้อเข่าด้านและน่อง
    มีอาการบวมบริเวณขา น่อง หรือข้อเข่าด้านหลัง


สาเหตุของ Baker's Cyst

ภาวะถุงน้ำหลังเข่าเกิดจากข้อเข่าผลิตน้ำไขข้อในปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้น้ำไขข้อไหลไปรวมกันบริเวณด้านหลังของข้อเข่าจนเป็นก้อนบวมนูนขึ้น ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติบริเวณไขข้อ เช่น หมอนรองกระดูกข้อเข่าได้รับความเสียหาย ข้อเข่าอักเสบ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเข่า เป็นต้น


การวินิจฉัย Baker's Cyst

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะ Baker's Cyst จากการถามประวัติทางการแพทย์ ประวัติอาการบาดเจ็บครั้งก่อน พร้อมทั้งจะตรวจร่างกายและอาการบวม โดยแพทย์จะเทียบกับเข่าข้างที่ปกติพร้อมตรวจดูการเคลื่อนไหวเพื่อตรวจหาความผิดปกติ

นอกจากนี้ ภาวะดังกล่าวอาจมีลักษณะคล้ายกับอาการที่มีความรุนแรงอื่น ๆ เช่น ลิ่มเลือด เส้นเลือดโป่งพอง หรือเนื้องอก เป็นต้น แพทย์จึงอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่

    การตรวจด้วยเครื่อง MRI เป็นวิธีตรวจที่ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นถุงน้ำได้อย่างชัดเจน และอาจตรวจพบความเสียหายบริเวณกระดูกอ่อนได้เช่นกัน
    การเอกซเรย์ แม้ไม่อาจช่วยให้แพทย์เห็นถุงน้ำ แต่อาจช่วยให้เห็นอาการอักเสบหรือภาวะข้ออักเสบ
    การอัลตราซาวด์ แพทย์จะใข้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจเพื่อดูว่าอาการบวมที่เกิดขึ้นเป็นถุงน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ


การรักษา Baker's Cyst

โดยปกติแล้ว หากได้หยุดพักการเคลื่อนไหวหรือพักการใช้งานเข่า ภาวะถุงน้ำหลังเข่าอาจหายไปเองโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ในกรณีที่มีอาการบวมเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยสามารถบรรเทาอาการด้วยการรับประทานยาในกลุ่ม NSAIDs อย่างยาไอบูโพรเฟน เพื่อป้องกันการอักเสบและลดอาการบวม นอกจากนี้ อาจประคบด้วยผ้าห่อน้ำแข็งเป็นเวลา 10-20 นาที แต่ห้ามให้น้ำแข็งสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงเพื่อลดอาการบวม หรืออาจใช้ผ้าพันบริเวณข้อเข่าเพื่อช่วยในการประคองและควบคุมการเคลื่อนไหวได้เช่นกัน ทั้งนี้ หากมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดซีสต์ ผู้ป่วยควรรักษาอาการดังกล่าวก่อน เนื่องจากซีสต์อาจหายไปหลังจากการรักษาอาการที่เป็นสาเหตุ

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ด้วยวิธีต่อไปนี้

    การรักษาด้วยการใช้ยา แพทย์อาจฉีดยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างยาคอติโซนเข้าไปในบริเวณข้อเข่า เพื่อบรรเทาอาการปวด
    การระบายของเหลวออก แพทย์จะสอดเข็มเข้าไปในบริเวณข้อเข่าก่อนจะดูดน้ำไขข้อออกจากบริเวณดังกล่าว โดยอาจทำควบคู่กับการอัลตราซาวด์เพื่อให้เข็มสามารถเข้าไปยังจุดที่จะทำการระบายได้อย่างแม่นยำ
    การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (Arthroscopy) จะใช้ในกรณีที่ข้อเข่าได้รับความเสียหายบริเวณจุดสำคัญ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากอาการบาดเจ็บหรือข้อเข่าเสื่อม โดยแพทย์จะทำการสอดกล้องเพื่อตรวจดูภายในข้อเข่าและใช้เครื่องมือขนาดเล็กสอดเข้าไปควบคู่กับเพื่อทำการรักษาข้อเข่าในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย และอาจช่วยป้องกันการเกิด Baker's Cyst ซ้ำในผู้ป่วยบางราย
    การทำกายภาพบำบัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อรอบหัวเข่าให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้ตามปกติ หากมีอาการปวดอาจใช้ไม้ค้ำ ประคบน้ำแข็ง หรือใช้ผ้ายืดพันบริเวณที่มีอาการเพื่อบรรเทาอาการปวด

ในกรณีที่ถุงน้ำหลังเข่าเกิดแตกหรือขาดภายใต้ผิวหนัง การรักษาสามารถทำได้โดยการพักการใช้งานขาและยกขาสูง เพื่อให้ของเหลวดังกล่าวซึมกลับเข้าสู่ร่างกายภายในเวลา 2-3 สัปดาห์


ภาวะแทรกซ้อนของ Baker's Cyst

หากผู้ป่วยมีภาวะ Baker's Cyst แล้วปล่อยไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา ถุงน้ำอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นและแตกได้ ส่งผลให้ของเหลวรั่วซึมใต้ผิวหนัง ตามมาด้วยอาการเจ็บแปลบบริเวณเข่า น่องบวม มีรอยฟกช้ำ ผิวอาจเป็นสีแดง อาการเจ็บบริเวณที่มีถุงน้ำอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเหยียดขาหรือเคลื่อนไหวร่างกาย


การป้องกัน Baker's Cyst

เนื่องจากภาวะถุงน้ำหลังเข่ามักมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า จึงควรดูแลรักษาเข่าด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมกับเท้าตนเอง เตรียมร่างกายก่อนการออกกำลังกายและค่อย ๆ ลดจังหวะเพื่อหยุดการออกกำลังกาย เมื่อได้รับบาดเจ็บบริเวณเข่าควรหยุดทำกิจกรรมและพักให้อาการดีขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์